วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

Comets

ดาวหางและอุกกาบาต


          ดาวหาง (Comets) คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะ มีส่วนที่ระเหิดเป็นไอ เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและก๊าซที่ฝ้ามัวล้อมรอบ รวมตัวเป็นก้อนน้ำแข็งที่ประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเป็นแกนกลาง (nucleus) ดาวหาง เป็นวัตถุฟากฟ้าที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เมื่อโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะทำให้องค์ประกอบต่างๆ ของดาวหางเกิดการระเหิดเป็นแก๊สห่อหุ้มแกนกลาง เมื่อได้รับอิทธิพลจากรังสีและลมสุริยะ ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าแผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ ทำให้แก๊สที่ห่อหุ้มอยู่สะท้อนแสงอาทิตย์ ส่วนที่สว่างมากที่สุดของดาวหางคือ ส่วนหัว ที่ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นนิวเคลียสและส่วนที่เรียกว่า โคม่า (coma) ลมสุริยะ ทำให้แก๊สและฝุ่นละอองพุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และมองเห็นเป็นส่วนหาง (tail) ดาวหางส่วนมากมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีแคบ ดังภาพ



          ดาวตก บางก็เรียกว่า "Shooting star" หรือ "Falling star" ดาวตกนั้นแท้จริงแล้วคือ เศษของฝุ่นหรือหิน ที่ถูกแรงดึงดูดของโลกดูดเข้ามาแล้วผ่านชั้นบรรยากาศเสียดสีแล้วเกิดลุกไหม้ ส่วนใหญ่แล้วดาวตกมักเกิดจากฝุ่นของดาวหาง ถ้าหากมีจำนวนมากๆ เราก็เรียกว่า ฝนดาวตก (Meteor shower) ถ้ามีอัตราการตกถี่มากตั้งแต่ 1,000 ดวงต่อนาที ก็จะเรียกว่า พายุดาวตก (Meteor storm) ถ้าฝนดาวตกที่มีอัตราการตกน้อยกว่า 10 ดวงต่อชั่วโมง เราก็เรียกว่าเป็น Minor meteor showers สำหรับเศษหินของดาวตกที่ลุกไหม้ไม่หมด แล้วตกลงถึงพื้นโลกเราก็เรียกว่า อุกกาบาต (Meteorite)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น