ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ (Moon) เป็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง
มีสถานะเป็นของแข็ง เป็นบริวารของโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ใน 4 ของโลก
หรือประมาณ 3,476 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 30 เท่า
ของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก มีการโคจร 3 แบบพร้อมๆ กัน คือ หมุนรอบตัวเอง
หมุนรอบโลก และหมุนรอบดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด
จึงมีอิทธิพลต่อโลกและสิ่งแวดล้อมบนโลกหลายประการ
ปฏิทินจันทรคติ
คือ ปฏิทินที่มีการนับวันและเดือนโดยถือเอาการเดินทางของดวงจันทร์เป็นหลัก
ซึ่งสังเกตจากลักษณะและตำแหน่งของดวงจันทร์ที่เห็นปรากฏบนโลกเรียกว่า
ข้างขึ้นข้างแรม
- วันข้างขึ้น คือ วันที่เห็นดวงจันทร์มากขึ้นจนถึงวันที่เห็นดวงจันทร์เต็มดวง
- วันข้างแรม คือ วันที่มองเห็นดวงจันทร์น้อยลงจนถึงวันที่มองไม่เห็นดวงจันทร์
ปฏิทินจันทรคติเริ่มต้นเดือนด้วยขึ้น 1 ค่ำไปจนถึงขึ้น
15 ค่ำ และต่อไปเป็นแรม 1 ค่ำ ไปจนถึงแรม 14 ค่ำ เป็นวันสุดท้ายของเดือนขาด
รวมเวลา 29 วัน หรือในบางเดือนจะนับวันไปจนถึง แรม 15 ค่ำ
ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดของเดือนเต็ม รวมเวลา 30 วัน โดยเฉลี่ยตลอดทั้งไป 1 เดือนจะมี
29 ½ วัน
ซึ่งในแต่ละวันดวงจันทร์จะปรากฏให้เห็นมีขนาดต่างๆ กัน
เพราะดวงจันทร์เคลื่อนที่รอบโลก
โดยด้านที่หันมาทางโลกได้รับแสงมากขึ้นในวันข้างขึ้น และได้รับแสงลดลงในวันข้างแรม
ภาพ :
แสดงการเกิดข้างขึ้นข้างแรม
จากภาพ
ตำแหน่งที่ 1 มองไม่เห็นดวงจันทร์ เพราะดวงจันทร์ด้านที่หันมาทางโลกไม่ได้รับแสงเลย
ตำแหน่งนี้จะตรงกับแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนเต็ม หรือ ขึ้น 1 ค่ำ
ของเดือนเต็มซึ่งนับต่อจากแรม 14 ค่ำ ของเดือนขาด
ตำแหน่งที่
5 มองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงเป็นรูปวงกลม เรียกว่า จันทร์เพ็ญ
เพราะดวงจันทร์หันด้านสว่างทั้งหมดมาโลก ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ ช่วงที่เกิดจันทร์เพ็ญ
ดวงจันทร์จะขึ้นทางทิศตะวันออกในเวลาหัวค่ำ
และจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกในเวลารุ่งเช้า
เมื่อพิจารณาจากรูป
พบว่า การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์จะหันเข้าหาโลกด้านเดียวตลอดการเคลื่อนที่รอบโลก
คือ เมื่อดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองได้ 1 รอบ ขณะเดียวกันจะหมุนรอบโลกได้ 1 รอบ
เช่นกัน ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
น้ำขึ้นน้ำลง
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากอิทธิพลของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
และโลกมีแรงดึงดูดต่อกัน ทำให้ระดับน้ำทะเลบนโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นและลงวันละ
2 ครั้ง เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมาก
แรงดึงดูดของดวงจันทร์จึงมีอิทธิพลต่อสิ่งต่างๆ บนโลกมากกว่าดวงอาทิตย์
โดยพื้นผิวของโลกประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็งและน้ำในที่ต่างๆ
ภาพ
: แสดงการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงบนโลก
น้ำในมหาสมุทรขึ้นและลงครบ
1 รอบในครึ่งวัน หรือ ใน 1 วันน้ำจะขึ้นและลง 2 ครั้ง
เพราะครั้งแรกน้ำขึ้นเมื่อดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุดหรือเมื่อมองเห็นดวงจันทร์อยู่สูงสุดบนท้องฟ้า
และครั้งที่สองเมื่อโลกหมุนไปประมาณ 12 ชั่วโมง 25 นาที
ไปอยู่ที่ตำแหน่งไกลจากดวงจันทร์มากที่สุด ในเวลาระหว่างกลางนั้นน้ำจะลง
ในวันขึ้น
15 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์จะอยู่ในแนวเดียวกันแล้วส่งแรงดึงดูดมายังโลกมากกว่าวันอื่น
ทำให้เกิดน้ำขึ้นมากกว่าวันอื่นๆ เรียกว่า วันน้ำเกิด และวันนั้นเมื่อถึงเวลาน้ำลง
น้ำจะลงมากด้วยเช่นกัน ส่วนวันข้างขึ้น 7-8 ค่ำหรือแรม 7-8 ค่ำ
น้ำจะขึ้นและลงไม่มาก เรียกว่า วันน้ำตาย ดังรูป
สุริยุปราคา
และจันทรุปราคา
เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากดวงจันทร์หรือโลกบังทางเดินของแสงจากดวงอาทิตย์
ทำให้เกิดเงาปรากฏที่โลกหรือดวงจันทร์แล้วแต่กรณี
ซึ่งทั้งโลกและดวงจันทร์เป็นวัตถุทึบ แสงที่มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก
ดังนั้นเงาของโลกหรือดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นจึงมีเงามืดลักษณะเป็นกรวยปลายแหลม
และเงามืดมีลักษณะเป็นกรวยบานออกไปสู่อวกาศ
- การเกิดสุริยุปราคา เกิดในเวลากลางวัน ตรงกับแรม 15 ค่ำหรือ ขึ้น 1 ค่ำ เมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกเคลื่อนที่อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน คนที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์จะเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์จนมืดมิด เรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง ขณะคนที่อยู่ภายใต้เงามัวจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังไม่หมด เรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน (การเกิด สุริยุปราคา)
- การเกิดจันทรุปราคา เกิดในเวลากลางคืน ขณะที่เป็นจันทร์เพ็ญ เมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เคลื่อนที่มาเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยดวงจันทร์เคลื่อนที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดีแล้วมีโลกอยู่ตรงกลาง ถ้าดวงจันทร์อยู่ในเงามืดทั้งดวง ดวงจันทร์จะมืดสนิทเรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง ถ้าดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดบางส่วน เรียกว่า จันทรุปราคาบางส่วน และถ้าเข้าไปอยู่ในเงามัว เรียกว่า จันทรุปราคาในเงามัว (การเกิด จันทรุปราคา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น